http://daowroong.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ชัยบาดาลบ้านเรา
ประวัติศาสตร์ลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี 2
แผนที่ลพบุรี
คำศัพท์ Com & Net
เว็บไซต์ส่วนราชการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาคอมพิวเตอร์
  SQL
  PHP
  ASP
  HTML
ท่องเที่ยวเมืองลพบุรี
มุมเพื่อสุขภาพ
เมนูอาหาร
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/01/2008
ปรับปรุง 18/04/2024
สถิติผู้เข้าชม692,877
Page Views843,823
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ





คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

MP4

MP4 หรือ Mpeg4 เป็นมาตรฐานในการย่อขนาดไฟล์เสียงและภาพยนตร์ที่มีความสามารถสูง โดยสามารถย่อไฟล์ภาพยนตร์ให้มีขนาดเล็กแต่ให้คุณภาพในระดับที่เกือบเทียบเท่าดีวีดี แต่ถ้าต้องการความคมชัดสูงก็สามารถบีบอัดหนังในคุณภาพระดับ High Definition ได้ (ไฟล์ DivX ก็เป็นไฟล์ชนิดหนึ่งที่เอามาตรฐานการลดขนาดภาพของ Mpeg4 มาใช้)
เมื่อพูดถึงเครื่องเล่น MP4 ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง เครื่องเล่นพกพาที่สามารถเล่นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้ เช่น หนัง คาราโอเกะ คลิปวิดีโอ นอกจากนี้ยังสามารถดู eBook (.txt) สมุดโทรศัพท์ เล่นเกม ฟังเพลง วิทยุเอฟเอ็ม อัดเสียง โฟโต้อัลบั้ม และจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชไดรฟ์ ซึ่งถ้าพูดจริงๆ แล้ว เครื่องที่เล่น MP4 ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเล่นภาพยนตร์ได้เสมอไป อาจเอาไว้ใช้ฟังเพลงที่ใช้มาตรฐานการเข้ารหัสด้วย AAC (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน MPEG4) เท่านั้นก็ได้ เพียงแต่ปัจจุบันนี้ตัวเครื่องมักจะมีฟังก์ชันให้คุณใช้งานครบถ้วนแถมยังใส่ซิมเอาไว้ใช้แทนโทรศัพท์มือถือได้อีกต่างหาก

 

Dynamic DNS

สำหรับ DNS หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้างแล้ว วันนี้ลองมาขยายขอบเขตของตัว DNS กัน นั้นก็คือ Dynamic DNS ว่าจะมีประโยชน์มากขนาดไหน ขออธิบายอีกสักครั้งสำหรับระบบดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) หน้าที่ของดีเอ็นเอสคือ เก็บข้อมูลของชื่อโดเมนและไอพีแอดเดรส เช่น www.company.com มีไอพีแอดเดรส 203.156.24.52 คอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลดีเอ็นเอสนี้เรียกว่า ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) เมื่อคอมพิวเตอร์เรียกเว็บไซต์ www.company.com เราต้องระบุชื่อเว็บไซต์ให้กับโปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เช่น IE จากนั้นบราวเซอร์จะทำการสอบถามไปยังดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ เพื่อขอทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของ www.company.com จากนั้นดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งหมายเลขไอพีแอดเดรสของ www.company.com ให้ทราบ เมื่อได้ไอพีแอดเดรสของ www.company.com แล้ว บราวเซอร์จะติดต่อไปยังที่อยู่หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ www.company.com หากพบแล้วก็ทำการร้องขอข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น และเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะส่งข้อมูลของ www.company.com กลับมาที่บราวเซอร์ เราจึงเห็นเว็บไซต์นั้นได้

สำหรับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์นี้จะติดตั้งอยู่ที่ไอเอสพีที่เราใช้บริการอยู่และจะทำงานเชื่อมต่อกับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นก็ต้องได้รับการกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ด้วย แต่สำหรับการจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่บ้านหรือสำนักงาน ไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ได้ เพราะเป็นไอพีแอดเดรสที่ได้รับมาแบบชั่วคราว โดยไอพีแอดเดรสจะเปลี่ยนไปทุกๆ ครั้งเมื่อเชื่อมต่อกับไอเอสพี เช่น เชื่อมต่อครั้งแรกอาจจะได้หมายเลข 203.156.24.52 พอวันรุ่งขึ้นอาจจะเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่งซึ่งได้หมายเลข 203.145.32.96 และเปลี่ยนไปทุกครั้งที่ทำการเชื่อมต่อใหม่ (การขอไอพีแอดเดรสแบบคงที่ สามารถทำได้แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก) ดังนั้น การใช้โดเมนเนมกับไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่จึงไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องใช้ระบบไดนามิกดีเอ็นเอสเข้ามาช่วย

ระบบไดนามิกดีเอ็นเอส (Dynamic DNS) เป็นระบบที่เก็บไอพีแอดเดรสกับโดเมนเนมของคอมพิวเตอร์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถแจ้งไอพีแอดเดรสที่เปลี่ยนแปลงทุกๆ ครั้ง ให้กับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการไดนามิกดีเอ็นเอส ผ่านทางโปรแกรมสำหรับแจ้งไอพีแอดเดรสอัตโนมัติ สามารถดาวน์โหลดได้จากผู้ให้บริการ

ดังนั้น บริการไดนามิกดีเอ็นเอสจึงช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเอดีเอสแอลที่มีไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่ สามารถจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ของตนเองขึ้นที่บ้านหรือสำนักงานได้

โดยมีแอดเดรสเป็นโดเมนเนมแทนตัวเลข ซึ่งจะช่วยให้เรามีตัวตนในโลกของอินเทอร์เน็ต แนะนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณาให้กับธุรกิจของคุณ สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างคุ้มค่าและประหยัดนั่นเอง

สำหรับผู้ให้บริการระบบไดนามิกดีเอ็นเอสก็มีอยู่หลายแห่ง แต่จะขอแนะนำบริการนี้ที่ www.no-ip.com ซึ่งมีบริการลงทะเบียนฟรี แต่จะได้โดเมนเนมแบบ yourname.no-ip.info หรืออื่นๆ ตามที่มีให้เลือกในแบบเงื่อนไขที่ฟรี

 

Wi-Fi

วิถีชีวิตยุคใหม่ของคนเมือง ที่ไม่ต้องการทำงานที่ไม่ยึดติดกับที่ อินเทอร์เน็ตไร้สายจะเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะว่าสามารถใช้งานได้ทุกอย่างไม่ว่าจะดาวน์โหลดไฟล์ หรือค้นหาข้อมูล
ก็เพียงแค่มองหาสัญลักษณ์ Wi-Fi บนอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ก หรือ โทรศัพท์มือถือ หากมีสัญลักษณ์ Wi-Fi ก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายได้แล้ว แต่คุณก็อาจจะยังสงสัยว่า จริงๆแล้ว Wi-Fi มันคืออะไรกันแน่?

Wi-Fi หรือในชื่อเต็มๆว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายที่ตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินสายเหมือนกับเครือข่ายแลนแบบเดิมๆ

เทคโนโลยีหรือมาตรฐานของ Wi-Fi ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ 802.11 ซึ่งมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ใช้จาก IEEE(the Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกันนั่นเอง

ในปัจจุบัน ทั่วกรุงเทพฯ ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล ฯลฯ ได้เริ่มมีบริการ Access Point สำหรับใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ จนแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถมีชีวิตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลากันเลยทีเดียว

 

HD DVD

HD DVD (High Definition DVD) เป็นมาตรฐานของออปติคอลดิสก์ซึ่งพัฒนาโดยโตชิบา ในรูปแบบของ ดีวีดี เจเนอเรชันใหม่ ซึ่งมีความคมชัดมากกว่า DVD ในปัจจุบัน โดยมีขนาดของแผ่นเท่ากับแผ่น CD ธรรมดา และยิงด้วย blue laser แบบเดียวกับที่ใช้ใน Blu-ray Disc โดยในแบบ single layer จะความจุมากถึง 15 GB และ dual layer มีความจุ 30 GB ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Blu-ray Disc ซึ่งจุได้ 25 GB สำหรับ single layer และ 50GB สำหรับ dual layer อาจจะได้ความจุน้อยกว่าแต่ราคาจะถูกกว่า และทางโตชิบา มีแผนจะวางจำหน่ายเครื่องเล่น HD DVD ช่วงเดือนมีนา ที่จะถึงนี้ พร้อมกับทางค่ายหนังก็จะวางแผนจะออกวางจำหน่าย ดีวีดีแบบ Hi-Def ประมาณ 200 เรื่อง ทยอยตามออกมาในช่วงใกล้เคียงกัน

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ทาง Microsoft แถลงข่าวในงาน CES 2006 ว่าบริษัทวางแผนจะออก external add-on HD DVD drive สำหรับ Xbox 360 ภายในปี 2006

 

 

Zombie

คอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยนักเจาะ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้เพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ตัวอย่างทั่ว ๆ ไปได้แก่การโจมตีแบบ DDoS (Distrubuted Denial of Service) เมื่อเครื่องที่เป็น zombie ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องโจมตีเครื่องอื่นที่เป็นเป้าหมาย เจ้าของเครื่องที่เป็น zombie อาจไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์ของพวกเขาถูกควบคุมโดยนักเจาะ ถ้าคอมพิวเตอร์นั้นถูกใช้เพื่อเป็นฐานการโจมตีที่เป้าหมายได้รับความเสียหาย เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น อาจถูกตามหาตัว หรือรับผิดชอบตามกฏหมาย

 

Cross Site Scripting

Cross Site Scripting (CSS) ซึ่งคำนี้แฮคเกอร์ส่วนใหญ่จะเข้าใจดี เพราะมันเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจับตาดูเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึง และไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เมื่อพวกเขากลับเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำอีกครั้งในภายหลัง แฮคเกอร์จะแอบสร้างลิงค์ขึ้นมาใหม่บนเว็บไซต์เป้าหมายด้วยโค้ด หรือสคริปท์โดยอาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้น แล้วแอบขโมยเอาข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้าไปโดยที่ผู้ใช้เข้าใจว่า ได้ให้ข้อมูลสำคัญกับทางเว็บไซต์ที่กำลังติดต่ออยู่ในขณะนั้น การโจมตีด้วยเทคนิค Cross Site Scripting แฮคเกอร์สามารถสร้าง และส่งลิงค์ไปให้กับเหยื่อ (ด้วยชื่อของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และต้องมีการป้อนข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิก) ผ่านทางอีเมล์, เว็บบอร์ด เป็นต้น เมื่อแฮคเกอร์ได้ข้อมูลของคุณไปแล้ว พวกมันก็จะสวมรอยด้วยการใช้ข้อมูลของคุณล็อกออนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ได้

กล่าวโดยสรุปก็คือ Cross Site Scripting เป็นเทคนิคการส่งลิงค์ที่ฝังโค้ด หรือสคริปท์การทำงานของแฮคเกอร์เข้าไป เพื่อให้ปรากฎบนหน้าเว็บของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ โดยหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสำคัญแล้วส่งกลับมาให้แฮคเกอร์แทนที่จะผ่านเข้าไปในเว็บไซต์ที่เรากำลังเข้าไปเยี่ยมชมอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง

 

RSS

RSS หรือ Really Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่นเว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้

จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

 

Web Service

Web service เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ application ต่างๆสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถึงแม้ว่า application ต่าง ๆ เหล่านั้นจะสร้าง มาจากสถาปัตยกรรม ภาษาและฐานข้อมูลที ต่างกัน Web service ทำให้Application ต่างๆสามารถ interface กันได้โดยใช้ XML เป็นภาษากลางในการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอรเพื่อที่จะให้มีมาตรฐานร่วมกันในการสื่อสารระหว่าง application ด้วยภาษา XML จึงได้มีการจักตั้งกลุ่มทำงาน WS-I ทำงานเพื่อกำหนดโดยเรียกกลุ่มของ application ที่เป็น web service ว่า Service-Oriented Architecture(SOA)

 

Cookies

Cookies คือ ข้อมูลขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปเก็บไว้ในบราวเซอร์ของท่าน เพื่อทำการเก็บข้อมูลการเข้าเยี่ยมชม เมื่อท่านเปิดเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้งในคราวหลัง เครื่องก็จะจำได้ทันทีว่าท่านเคยเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว Cookies ไม่ใช่โปรแกรมที่จะเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานแล้วทำลายไฟล์ต่าง ๆ แต่มีไว้เพื่อช่วยให้เราคอยติดตามว่าผู้ใช้แวะเยี่ยมหน้าใดบ้าง เริ่มต้นจากหน้าไหนจบลงด้วยหน้าไหนและบ่อยแค่ไหน เราไม่ได้ใช้ Cookies เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้คือใคร เพียงแต่บอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นี้เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว Cookies ไม่ได้ใช้สำหรับเก็บ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล์ หากท่านไม่ประสงค์ให้ Cookies เข้าไปอยู่ในคอมพิวเตอร์ของท่าน ท่านสามารถ สั่งให้บราวเซอร์ปฏิเสธไฟล์ Cookies ได้

ประโยชน์ของ Cookies :
(1). ใช้จัดเก็บข้อมูลของผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชม และจัดเก็บข้อมูลของสมาชิกแต่ละท่าน เพื่อใช้ในนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการให้ตรงตามความต้องการของแต่ละท่านมากที่สุด ซึ่ง Cookies เหล่านี้จะเริ่มเก็บข้อมูลหลังจากที่ท่านใส่รหัสผ่านของสมาชิกและจะหยุดการจัดเก็บข้อมูลเมื่อท่าน ออกจากรหัสผ่าน หรือ log out

(2). ใช้ประเมินจำนวนผู้เข้าชม การใช้บราวเซอร์แต่ละประเภทจะมีการใช้ Cookies ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถจำแนกการใช้งานของผู้เข้าชมทั้งที่เป็นสมาชิกและมิได้เป็นสมาชิกได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายโดยประเมินจากความสนใจและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

(3). ใช้ตรวจสอบความถี่ในการใช้งาน หรือรูปแบบการเข้าชม การตรวจสอบ Cookies นี้นอกจากจะทำให้เราเข้าใจถึงลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีผลต่อการปรับปรุงบริการของเรา เนื้อหา การโฆษณา และการส่งเสริมการขายต่างๆ ในเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล

 

WiMAX

WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access) หรือมาตรฐาน IEEE 802.16 คือเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงล่าสุด ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ ต่อมามีการแตกเวอร์ชั่นเป็น IEEE 802.16a ซึ่งได้รับอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) มีรัศมีทำการ 30 ไมล์ (ประมาณ 48 กิโลเมตร) และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุด 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) กว้างกว่า 10 เท่าและเร็วกว่า 30 เท่าเทียบกับ 3G

คุณสมบัติเด่นของ IEEE 802.16a คือความสามารถในการส่งสัญญาณจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อมกัน, รองรับการทำงานแบบ Non-Line-of-Sight คือทำงานได้แม้มีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้หรืออาคาร และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในการขยายพื้นที่ให้บริการ มาตรฐาน IEEE 802.16a จะทำงานบนความถี่ย่าน 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้

IEEE 802.16a สามารถตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลที่สายเคเบิลลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็สะดวกสบายและประหยัดสำหรับสำหรับผู้ให้บริการในการขยายเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิล นอกจากนี้ IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงในเรื่องคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ให้สามารถรองรับได้ทั้งภาพ (Video) และเสียง (Voice) โดยไม่ใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเดิม (Low Lantency Network) ส่วนเรื่องซีเคียวริตี้ ได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และมีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ขณะรับส่ง ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยสูง


เวอร์ชั่นต่างๆของ WiMAX ในปัจจุบันมีดังนี้

IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) คือต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างเครื่องรับเครื่องส่ง และรันบนย่านความถี่ 10-16 GHz

IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม รันบนความถี่ย่าน 2-11 GHz โดยคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือ การรองรับการทำงานแบบ NLoS (Non-Line-of-Sight) คือแม้มีสิ่งกีดขวางก็ยังทำงานได้ รัศมีทำการ 30 ไมล์ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 75 Mbps นั่นหมายความว่า WiMAX สามารถรองรับบริการเครือข่ายความเร็วสูงระดับ ที 1 (T1-Type) จำนวน 60 ราย และบริการ DSL จำนวนอีกหลายร้อยรายได้พร้อมกันโดยไม่มีปัญหา

IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์โมบายล์ เช่น พีดีเอและโน้ตบุ๊ค รัศมีทำการ 1.6-4.8 กิโลเมตร สนับสนุนการเชื่อมต่อในขณะเคลื่อนที่โดยไม่กระทบกับคุณภาพและความเสถียรของระบบ

WiMAX Forum คือองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทสื่อสารชั้นนำทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.16

 

Client/Server

วิธีการประมวลผลแบบกระจายวิธีหนึ่ง โดยมีการโต้ตอบกันระหว่างไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนเครื่องของผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนโฮสต์คอมพิวเตอร์โฮสต์ คอมพิวเตอร์อาจจะเป็นยูนิกซ์ เมนเฟรมหรือเครื่องประเภทอื่นได้ ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์จะจัดการด้านการแสดงผลข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์จทำหน้าที่ของฐานข้อมูลการติดต่อระหว่างซอฟต์แวร์ทั้งคู่จะกำหนดโดยโปรโตคอลเฉพาะ วิธีการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นี้ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อเครื่องส่วนบุคคลและเครือข่ายมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น

 

Broadband

สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทาง (ใช้แถบความถี่หลายความถี่)

 

Bind Berkeley Internet Domain Software

ไบนด์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบเบิร์คลีย์ยูนิกซ์ เพื่อให้เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ใช้ในการทำงานทำงานเกี่ยวกับระบบชื่อโดเมน

 

Anonymous FTP

เป็นเอฟทีพีเซิร์ฟที่ยอมให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีบนเซิร์ฟเวอร์นั้น (แต่ผู้ใช้ต้องใส่ชื่อ
บัญชี "anonymous" เป็นชื่อล็อกอินแทน) มีเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ตหลายแห่งที่ให้บริการนี้ ให้ดูที่คำว่า Archie เพิ่มเติม

 

terminal server

โดยทั่วไปในเทคโนโลยีสารสนเทศ terminal server เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือเครื่องแม่ข่ายที่ให้ terminal (เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ) ต่อเชื่อมกับเครือข่าย LAN หรือ WAN โดย terminal ต่อเชื่อมกับ terminal server จากพอร์ตอนุกรม RS-232C หรือ RS-423 อีกด้านหนึ่งของ terminal server ต่อผ่านอินเตอร์เฟซเครือข่าย (network interface cards หรือ NIC) ไปยังเครือข่าย LAN หรือผ่านโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับเครือข่าย WAN หรือ เครือข่าย X.25 หรือ gateway 3270 (ความแตกต่าง ทำให้ terminal server มีชนิดการติดต่อที่แตกต่างกัน บางครั้งสามารถจัดลำดับความแตกต่างของการคอนฟิก ตามความต้องการของลูกค้า) การใช้ terminal server หมายถึงแต่ละ terminal ไม่ต้องการการ์ดอินเตอร์เฟซ หรือโมเด็มของตัวเอง การเชื่อมต่อกับทรัพยากรภายใน terminal server ซึ่งปกติมีการใช้ร่วมกันโดย terminal ติดต่อ

บาง terminal server สามารถใช้งานร่วมได้ถึง 128 terminal โดย terminal สามารถเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เครื่องพิมพ์ emulate 3270 หรืออุปกรณ์ที่มีอินเตอเฟซ RS-232/423 ในบาง terminal server สามารถใช้กับ terminal แบบ TCP/IP สำหรับการติดต่อแบบ Telnet ไปที่ host, LAT ไปยัง DEC host หรือ TN 3270 สำหรับการติดต่อแบบ Telnet ไปยัง IBM host ด้วยการประยุกต์ 3270 ในบาง terminal server ให้ผู้ใช้ terminal มีหลาย host ในการติดต่อกับระบบปฏิบัติการของ host ที่แตกต่างกัน คำว่า communication server ในบางครั้งใช้แทนที่ terminal server

 

Terminal

1) ในระบบสื่อสาร terminal เป็นอุปกรณ์ที่จุดสิ้นสุดของปลายทางในการส่งสัญญาณในทางปฏิบัติ terminal ได้รับไปเฉพาะส่วนขยาย จุดปลายขอเครือข่าย ไม่ใช่อุปกรณ์ส่วนกลางหรือกิ่งกลาง

2) ในระบบโทรศัพท์ คำว่า Data terminal Equipment ใช้อธิบายคอมพิวเตอร์ปลายทางของ DTE -to- DCE (Data Communications Equipment) ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และโมเด็ม

3) ในคอมพิวเตอร์ terminal (บางครั้งเรียกว่า “dumb terminal”) เป็นอุปกรณ์ของผู้ใช้ (ปกติประกอบด้วยจอภาพและคีย์บอร์ด) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องเมนเฟรม หรือเครื่องแม่ข่าย และเป็นที่มาของแนวคิด network computer

4) คำนี้ในบางครั้งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อเข้ากับระบบเครือข่าย

 

Telnet

Telnet เป็นวิธีการติดต่อของผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่ผู้ติดต่อได้รับอนุญาตในทางเทคนิค telnet เป็นคำสั่งของผู้ใช้ภายใต้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อเข้าถึงคอมพิวเตอร์ในระยะไกล โปรโตคอลของเว็บ หรือ Hypertext Transfer Protocol และ File Transfer Protocol ยินยอมให้ผู้ใช้เรียกไฟล์ที่เจาะจงจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล แต่ไม่ได้ logon ในฐานะผู้ใช้ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น โดยการใช้ telnet ผู้ใช้สามารถ logon ในฐานะผู้ใช้ธรรมดาที่มีสิทธิในการเจาะจงโปรแกรมประยุกต์ และข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์


คำสั่งของ telnet มีลักษณะดังนี้
Telnet the libraryat.harvard.edu เมื่อส่งคำสั่งนี้ไปแล้ว จะมีการ logon ด้วย user id และป้อนรหัสผ่าน ถ้ายอมรับก็สามารถใช้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ telnet ได้รับการใช้งานโดยผู้พัฒนาโปรแกรม และผู้ต้องการใช้โปรแกรมประยุกต์เฉพาะ หรือข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง host ที่เจาะจง

 

TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

TCP/IP เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ
TCP/IP เป็นโปรแกรม 2 เลเยอร์ TCP (Transmission Control Protocol) เป็นเลเยอร์ที่สูงกว่า ทำหน้าที่จัดการแยกข้อความหรือไฟล์แลปรกอบให้เหมือนเดิม IP (Internet Protocol) เป็นเลเยอร์ที่ต่ำกว่า ทำหน้าที่จัดการส่วนของที่อยู่ของแต่ละชุดข้อมูล เพื่อทำให้มีปลายทางที่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway บนเครือข่ายจะตรวจที่อยู่นี้เพื่อหาจุดหมายในการส่งข้อความ ชุดข้อมูลอาจจะใช้เส้นทางไปยังปลายทางต่างกัน แต่ทั้งหมดจะได้รับการประกอบใหม่ที่ปลายทาง

TCP/IP ใช้ในแบบ client/server ในการสื่อสาร (ระหว่างคอมพิวเตอร์) ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (client) เป็นผู้ขอและการบริการได้รับจากคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายในระบบเครือข่าย การสื่อสารของ TCP/IP เป็นแบบจุดต่อจุด (point -to- point) หมายความว่าการสื่อสารแต่ละครั้งเกิดจากจุดหนึ่ง (เครื่อง host เครื่องหนึ่ง) ไปยังจุดอื่นหรือเครื่อง host เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP และโปรแกรมประยุกต์ระดับสูงอื่น ที่ใช้ TCP/IP สามารถเรียกว่า “Stateless” เพราะการขอแต่ละ client ได้รับการพิจารณาเป็นการขอใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับการขอเดิม (แต่แตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์) การที่เป็นพาร์ทของเครือข่ายอิสระแบบ “Stateless” ดังนั้นทุกคนสามารถใช้พาร์ทได้อย่างต่อเนื่อง (หมายเหตุ เลเยอร์ของ TCP จะไม่ “Stateless” ถ้ายังทำการส่งข้อความใดข้อความหนึ่ง จะทำการส่งจนกระทั่งชุดข้อมูลนั้นได้รับครบชุด)

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนมากคุ้นเคยกับการประยุกต์เลเยอร์ระดับสูง โดยใช้ TCP/IP เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ท ทั้งนี้รวมถึง World Wide Web’s Hypertext Transfer Protocol (HTTP), File Transfer Protocol (FTP) ซึ่งในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol เหล่านี้ จะเป็นชุดเดียวกับ TCP/IP ในลักษณะ “Suite” เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มักจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ผ่าน Serial Line Internet Protocol (SLIP) หรือ Point-To-Point Protocol (PPP) โปรโตคอล แบบนี้จะควบคุมชุดข้อมูลของ IP ดังนั้น จึงสามารถใช้ส่งผ่านการติดต่อด้วยสายโทรศัพท์ ผ่านโมเด็ม Protocol ที่สัมพันธ์กับ TCP/IP ได้แก่ User Datagram Protocol (UDP) สำหรับใช้แทน TCP/IP ในกรณีพิเศษ ส่วนโปรโตคอลอื่นที่ใช้โดยเครื่อง host ของเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับ router ได้แก่ Internet Control Message Protocol (ICMP) Interior Gateway Protocol (IGP) Exterior Gateway Protocol (EGP) และ Border Gateway Protocol (BGP)

 

Transmission Control Protocol (TCP)

TCP (Transmission Control Protocol) ใช้ Internet Protocol (IP) เพื่อส่งข้อมูลในรูปแบบของข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต โดย IP ดูแลการควบคุมการส่งข้อมูลที่แท้จริง TCP ดูแลการรักษาเส้นทางของหน่วยข้อมูลแต่ละชุด (เรียกว่า แพ็คเกต - Packets) ซึ่งข้อความจะถูกแบ่งออก เพื่อการใช้ประสิทธิภาพของเส้นทางบนอินเตอร์เน็ต เช่น เมื่อมีการส่งไฟล์ HTML ออกจาก web server ไปที่จุดหมายปลายทาง โปรแกรมเลเยอร์ของ TCP จะแบ่งไฟล์นั้นเป็นหนึ่งชุดหรือมากกว่า หมายเลขของชุดข้อมูลแล้วส่งต่อข้อมูลแต่ละชุดไปที่โปรแกรมเลเยอร์ของ IP ถึงแม้ว่าแต่ละชุดข้อมูลมีปลายทางที่ IP address เดียว แต่ชุดข้อมูลอาจจะเลือกเส้นทางที่ต่างกันบนเครือข่าย เพื่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง TCP จะประกอบชุดข้อมูลแต่ละชุดให้ครบแล้วจึงประกอบข้อมูลเป็นไฟล์เดียว

TCP เป็น protocol ที่รู้จักในลักษณะ connection-oriented protocol หมายถึง การติดต่อจะถูกสร้างขึ้น และรักษาการแลกเปลี่ยน เช่น การส่งข้อความระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของแต่ละด้าน TCP รับผิดชอบสำหรับในการจัดแบ่งข้อความเป็นชุดข้อมูล และประกอบชุดข้อมูลให้เป็นข้อความเหมือนเดิม เมื่อไปถึงปลายทาง DOS แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection Communication model) TCP อยู่ในเลเยอร์ที่ 4 คือ เลเยอร์การส่ง (Transport Layer)

 

Tag

Tag เป็นคำทั่วไปสำหรับภาษาแบบ element descriptor กลุ่มของ Tag สำหรับเอกสาร หรือหน่วย ของสารสนเทศในบางครั้ง อ้างถึง markup คำสั่งนี้ในยุคก่อนการใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อผู้เขียนและผู้ตรวจทาน ทำเครื่องหมายบนเอกสารด้วยสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่น การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา Hypertext Markup Language (HTML)

 

Syntax

Syntax ในไวยากรณ์, โครงสร้าง หรือลำดับของส่วนประกอบ ในประโยคของภาษา Syntax การประยุกต์กับภาษาคอมพิวเตอร์ เหมือนกับภาษาธรรมชาติ ในภาษาคอมพิวเตอร์ ไวยากรณ์สามารถมีความแข็งตัว เช่น ในภาษา assembler หรือความแข็งตัวน้อย ในภาษาที่ใช้ “keyword” พารามิเตอร์ซึ่งสามารถระบุในลำดับต่าง ๆ

 

Switch

ในโทรคมนาคม, switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง

ความสัมพันธ์แบบจำลอง Open System Interconnecting, สวิท์ช เกี่ยวข้องกับ Layer หรือ Data-Link Layer อย่างไรก็ตาม สวิท์ชรุ่นใหม่ สามารถทำงานต้นเส้นทาง ของเลเยอร์ หรือ Network Layer โดยบางครั้ง switch layer 3 ได้รับการเรียกว่า IP switches

บนเครือข่ายขนาดใหญ่ การเดินทางจากสวิท์ชหนึ่งไปยังตัวอื่นในเครือข่ายเรียกว่า hop เวลาที่สวิท์ชใช้ ในการชี้ถึงการส่งหน่วยข้อมูลเรียกว่า latency ราคาที่จ่ายให้กับความยืดหยุ่น ของสวิท์ชที่ให้กับเครือข่าย คือ latency สวิท์ชที่พบใน backbone และ gateway ของเครือข่าย ที่เครือข่ายหนึ่งใช้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอื่น และระดับเครือข่ายย่อย สำหรับการส่งต่อใกล้กับปลายทาง หรือจุดเริ่มต้น อันแรกเรียกว่า core switches และอันดับหลังเรียกว่า desktop switches

ในเครือข่ายพื้นฐาน สวิท์ช ไม่ต้องการข่าวสารในการส่ง หรือรับภายเครือข่าย ตัวอย่างเช่น เครือข่ายแบบ LAN อาจจะจัดโครงสร้างด้วย todenring หรือการจัดเรียงบัส ในแต่ละปลายทางตรวจแต่ข่าวสาร และอ่านข่าวสารด้วยตำแหน่ง circuit switching เวอร์ชัน packet switching เส้นทางของเครือข่ายจะต้องใช้เฉพาะสำหรับภายในกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่า และสวิท์ชสำหรับใช้กับกลุ่มอื่น ประเภทของ switching ที่รู้จักในชื่อ circuit switching และเป็นตัวแทนและเชื่อมต่อเส้นทางอย่างต่อเนื่อง สำหรับภายในกลุ่ม

ปัจจุบัน การส่งข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สัญญาณดิจิตอลผ่านเครือข่ายที่ใช้ packet switching การใช้ packet switching ผู้ใช้เครือข่ายทั้งหมดสามารถใช้เส้นทางร่วมกันในเวลาเดียวกัน และเส้นทางเฉพาะ ของหน่วยข้อมูลที่เดินทาง สามารถแปรผันตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนใน packet switching การส่ง message จะได้รับการแบ่งเป็น แพ็คเกต ซึ่งมีหน่วยเป็นไบต์ address ของเครือข่ายสำหรับผู้ส่ง และสำหรับปลายทาง ได้รับการเพิ่มอยู่ในแพ็คเกต แต่ละจุดของเครือข่ายจะดูที่แพ็คเกต เพื่อส่งต่อแพ็คเกตใน message เดียวกันอาจจะมีเส้นทางที่ต่างกัน และอาจจะไม่ไปถึงในลำดับเดียวกับ การส่งที่ปลายทาง แพ็คเกตใน message จะได้รับการรวมและประกอบใหญ่เป็น message เหมือนเดิม


.................................... ยังมีอีกเยอะเยอะเลย กลัวจะอ่านไม่หมด งั้นพอแค่นี้ก่อน ...............................  
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view