http://daowroong.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ชัยบาดาลบ้านเรา
ประวัติศาสตร์ลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี 2
แผนที่ลพบุรี
คำศัพท์ Com & Net
เว็บไซต์ส่วนราชการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาคอมพิวเตอร์
  SQL
  PHP
  ASP
  HTML
ท่องเที่ยวเมืองลพบุรี
มุมเพื่อสุขภาพ
เมนูอาหาร
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/01/2008
ปรับปรุง 25/03/2024
สถิติผู้เข้าชม691,715
Page Views842,626
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

วิวัฒนาการ

   วิวัฒนาการของภาษาคอมพิวเตอร์   

ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการโดยลำดับเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์
โดยจะสามารถแบ่งออกเป็นยุคหรือเป็นรุ่นของภาษา (Generation) ซึ่งในยุคหลังๆ
จะมีการพัฒนาภาษาให้มีความสะดวกในการอ่านและเขียนง่ายขึ้นกว่าภาษาในยุคแรกๆ
เนื่องจากจะมีโครงสร้างภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ

สามารถแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

   ภาษาเครื่อง (Machine Language)
   ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
   ภาษาชั้นสูง (High - level Language)
   ภาษาชั้นสูงมาก (Very High - level Language)
   ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)



   ภาษาเครื่อง   

ในยุคแรก ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามต้องการนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเขียนคำสั่งด้วยภาษาของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ซึ่งเรียกว่า ภาษาเครื่อง คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยกลุ่มของตัวเลขในระบบเลขฐานสอง เป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยตรง ลักษณะของภาษาเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ของ
คอมพิวเตอร์แต่ละระบบ โดยเขียนอยู่ในรูปของรหัสของระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วย เลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียน
เรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไรเช่น สั่งให้ทำการ
บวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อ บอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก

โครงสร้างของคำสั่งในภาษาเครื่อง

คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบfด้วย 2 ส่วนคือ
   โอเปอเรชันโคด (Operation Code) เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เช่น
         การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) เป็นต้น
   โอเปอแรนด์ (Operands)เป็นตัวที่ระบุตำแหน่งที่เก็บของข้อมูลที่จะเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อนำไป
         ปฏิบัติการตามคำสั่งในโอเปอเรชันโคด



   ภาษาระดับต่ำหรือภาษาแอสเซมบลี   

เป็นภาษาที่มีการใช้สัญลักษณ์ข้อความ (mnemonic codes) แทนกลุ่มของเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง ตัวอย่างเช่นมีการใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้

A ย่อมาจาก ADD หมายถึงการบวก
S ย่อมาจาก SUBTRACT หมายถึงการลบ
C ย่อมาจาก COMPLARE หมายถึงการเปรียบเทียบ
MP ย่อมาจาก MULTIPLY หมายถึงการคูณ
ST ย่อมาจาก SRORE หมายถึง การเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ เป็นต้น

ถึงแม้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้จะไม่ใช่คำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษแต่ก็ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรม
ได้สะดวกสะบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องจดจำ 0 และ1 ของเลขฐานสองอีกนอกจากนี้
ภาษาแอสเซมบลียังอนุญาติให้ผู้เขียนใช้ตัวแปรที่ตั้งขึ้นมาเองในการเก็บค่าข้อมมูลใด ๆ เช่น X, Y, RATE หรือ TOTAL แทนการอ้างอิงถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลจริงๆ ภายในหน่วยความจำ

ดังได้กล่าวแล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะรู้จักเฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้นดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการแปล
โปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อนเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งในโปรแกรม
ได้การแปลภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่องนั้นจะต้องมีตัวแปลภาษาแอสเซมบลีที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปล ซึ่งภาษาแอสเซมบลี 1คำสั่งจะสามารถแปลเป็นภาษาเครื่องได้ 1 คำสั่งเช่นกัน ดังนั้นเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี 10 คำสั่ง ก็จะถูกแปลเป็นภาษาเครื่อง 10 คำสั่งเช่นกันจึงเห็นได้ว่าภาษาแอสเซมบลีจะมีลักษณะที่เหมือนกับภาษาเครื่องคือ เป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับเครื่อง กล่าวคือเราไม่สามารถนำโปรแกรมที่เขียนด้วยแอสเซมบลี
โปรแกรมเดียวกันไปใช้ในเครื่องต่างชนิดกันได้และนอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้จะต้องมีความรู้
ความเข้าใจในเรื่องของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีเนื่องจากจะต้องยุ่งเกี่ยวกับการใช้งานหน่วยความจำที่เป็นงานหน่วยความจำ
ที่เป็นรีจิสเตอร์ภายในตลอดดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เขียนในงานที่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง เช่น งานทางด้านกราฟิกหรืองานพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าภาษานี้จะง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาชั้นต่ำที่ยังยากต่อการเขียนและ
การเรียนรู้มากสำหรับผู้ที่ไม่ความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เท่าใดนัก



   ภาษาระดับสูง   

สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นภาษารุ่นที่ 3 (3rd Generation Languages หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป และที่สำคัญคือผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) เบสิก (BASIC) ปาสคาล (PASCAL) ซี (C) เอดา (ADA)

อย่างไรก็ตามโปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาประเภทนี้จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อมีการแปลงให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งวิธีการแปลงจากภาษาชั้นสูงให้เป็นภาษาเครื่องนั้น จะทำได้โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยภาษาชั้นสูงแต่ภาษาจะมีตัวแปลภาษาเฉพาะเป็นของตัวเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถนำตัวแปลภาษาที่เรียกว่า โคบอลคอมไพเลอร์ไม่สามารถนำคอมไพเลอร์ของภาษาโคบอลนี้ไปใช้แปลภาษาปาสคาลได้ เป็นต้น สำหรับความแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์และอินเตอร์พรีเตอร์จะมีดังต่อไปนี้

คอมไพเลอร์ (Compiler)

จะทำการแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องทีเดียว การแปลนี้จะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษา ถ้ามีข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษาเกิดขึ้นก็จะแจ้งให้ทราบ เรียกข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษา (Syntax Error) นี้ได้ว่าเป็น ข้อความไดแอคนอสติค (Diagnostic Message) เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมทำการแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วจึงค่อยสั่งให้แปลใหม่ โปรแกรมที่ยังไม่ผ่านการแปลจะเรียกว่า ซอร์สโปรแกรม (Source Program) หรือ ซอร์สโมดูล (Source module) แต่ถ้าผ่านการแปลเรียบร้อยและไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ จะเรียกโปรแกรมส่วนนี้ว่า ออปเจกต์โปรแกรม (Object Program) หรือออปเจกต์โมดูล (Object Module)

ออปเจกต์โปรแกรมนี้ยังไม่สามารถทำงานได้ จะต้องผ่านการลิงค์ (Link) หรือรวมเข้ากับไลบรารี่ (Library)ของระบบ
ก่อนจึงจะเป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้หรือเป็นภาษาเครื่องทีเรียกว่า เอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม (Execute Program)
หรือ โหลดโมดูล (Load Module) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .exe หรือ.comและสามารถนำ
โปรแกรมนี้ไปใช้งานได้ตลอดโดยไม่ต้องสั่งแปลใหม่อีก แต่ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรมแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำการแปลใหม่หมดตั้งแต่ต้น

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

เป็นตัวแปลภาษาอีกตัวหนึ่งที่จะทำการแปลโปรแกรมภาษาชั้นสูงทีละคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องและทำการเอ็กซ์วีคิวท์หรือ
ทำงานคำสั่งนั้นทันทีทันใดเลยก่อนที่จะไปทำการแปลต่อในบรรทัดถัดไปถ้าในระหว่างการแปลเกิดพบข้อผิดพลาดที
บรรทัดใดก็จะฟ้องให้ทำการแก้ไขทีละบรรทัดนั้นทันทีอินเตอร์พรีเตอร์นี้เมื่อโปรแกรมเสร็จแล้วจะไม่สามารถเก็บเป็น
เอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม (Execute Program) ได้ซึ่งต่างกับคอมไพเลอร์ดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานหรือรันโปรแกรม
ก็จะต้องทำการแปลหรือคอมไพล์โปรแกรมใหม่ทุกครั้งไปดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานเอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรมย่อมจะทำงาน
ได้เร็วกว่าการเรียกใช้งานโปรแกรมที่ต้องผ่านการแปลด้วยอินเตอร์พรีเตอร์แต่ประโยชน์ของภาษาที่ถูกแปลด้วย
อินเตอร์พรีเตอร์คือโปรแกรมจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการพัฒนาตัวอย่างของภาษาโปแกรมที่มีการใช้อินเตอร์พรีเตอร์
เป็นตัวแปลภาษาได้แก่ ภาษาเบสิก ภาษาเพร์ล เป็นต้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาชั้นสูงนั้นนอกจากจะให้ความสะดวกแก่ผู้เขียนเป็นอันมากแล้วผู้เขียนแทบจะไม่ต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับ
การทำงาน ของระบบฮาร์ดแวร์ก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้นอกจากนี้
ยังมีข้อดีอีกอย่างคือสามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ ไปใช้งานบนเครื่องใดก็ได้ คือมีลักษณะที่ไม่ขึ้นอยู่กับกับเครื่อง
(Hardware Indepent)เพียงแต่ต้องทำการการแปลโปรแกรมใหม่เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามภาษาเครื่องที่ได้จาก
การแปลภาษาชั้นสูงนี้อาจเยิ่นเย้อและไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเขียนด้วยภาษาเครื่องหรือแอสเซมบลีโดยตรง

ภาษารุ่นที่ 3 นี้ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาที่มีแบบแผน (Procedural language)เนื่องจากลักษณะ
การเขียนโปรแกรมจะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ กล่าวคือ งานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรมต้องเขียน
โปรแกรมควบคุมการทำงานเองทั้งหมด และต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นตอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง
แบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผล หรือการสร้างรายงาน ซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลา
ในการพัฒนาค่อนข้างยาก



   ภาษาชั้นสูงมาก (Very high - Level Language)   

สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าภาษาในรุ่นที่ 4 (4GLs: Fourth Generation Languages)ภาษานี้เป็นภาษา
ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าภาษารุ่นที่ 3 มีลักษณะของภาษาในรุ่นที่เป็นธรรมชาติคล้ายๆ กับภาษาพูดของมนุษย์จะช่วย
ในเรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอเพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูล รวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งจะมีการจัดการ
ที่ง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่ 3 ตัวอย่างของภาษาในรุ่นที่ 4 ได้แก่ Informix-4GL, Focus, Sybase,
InGres เป็นต้น

ลักษณะของ 4GL มีดังต่อไปนี้

 เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้เพียงแต่บอกว่าต้องการอะไร แต่ไม่ต้องบอกถึงรายละเอียด
            ว่าต้องทำอย่างไร คอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการให้เองหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างแบบฟอร์มการรับข้อมูลจาก
            ผู้ใช้ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่ทำการออกแบบหน้าตาของแบบฟอร์มนั้นบนโปรแกรมอิดิเตอร์ (Editor) ใดๆ และเก็บ
            เป็นไฟล์ไว้เมื่อจะเรียกใช้งานแบบฟอร์มนั้นเพียงแต่ใช้คำสั่งเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดย
            ทันทีซึ่งต่างจากภาษารุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแบบ Proceduralผู้เขียนโปรแกรม จะต้องเขียนรายละเอียดของโปรแกรม
            ทั้งหมดว่า ที่บรรทัดนี้คอลัมน์นี้จะให้แสดงข้อความหรือข้อมูลอะไรออกมา ซึ่งถ้าต่อไปจะมี
การปรับเปลี่ยนหน้าตา
            ของแบบฟอร์ม ก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่ง หรือในการสร้างรายงานด้วย 4GLs ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายเพียง
            แต่ระบุลงไปว่าต้องการรายงานอะไร มีข้อมูลใดที่จะนำมาแสดงบ้าง โดยไม่ต้องบอกถึงวิธีการสร้าง หรือการดึงข้อมูล
            แต่อย่างใด 4GLsจะจัดการให้เองหมด

ส่วนใหญ่จะพบว่า 4GLs มักจะอยู่ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลจะสามารถจัดการฐานข้อมูล
            ได้โดยผ่านทาง 4GLs นี้

ส่วนประกอบของภาษา 4GLs

โดยทั่วไปแล้ว 4GLs จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังต่อไปนี้

เครื่องช่วยสร้างรายงาน (Report Generators)

หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่า เครื่องมือช่วยเขียนรายงาน (Report Writer) เป็นโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ (end - users) ให้สามารถสร้างรายงานอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขและข้อมูลที่จะออกมาพิมพ์ในรายงาน
รวมไปถึงรูปแบบ (format) ของการพิมพ์ไว้ โปรแกรมช่วยสร้างรายงานนี้จะทำการพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่เรากำหนดไว้ให้

ภาษาช่วยค้นหาข้อมูล (Query Languages)

เป็นภาษาที่ช่วยในการค้นหาหรือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ภาษานี้จะง่ายต่อการใช้งานมาก เนื่องจากจะอยู่ในรูปแบบที่
ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก ตัวอย่างของภาษาช่วยค้นหาข้อมูลนี้ได้แก่ ภาษา SQL (Structured Query Language)
ภาษา QBE (Query - By - Example) และ Intellect เป็นต้น

เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรม (Application Generators)

4GLs จะมีรูปแบบการเขียนโปรแกรมเฉพาะตัว และสามารถเรียกใช้เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมนี้ทำการแปลง 4GLs ให้กลายเป็นโปรกรมในภาษารุ่นที่ 3 ได้ เช่น ภาษาโคบอล หรือ ภาษาซี เป็นต้น ซึ่งอาจนำภาษาโคบอล หรือซีที่แปลงได้
ไปพัฒนาต่อเพื่อใช้กับงานที่มีความซับซ้อนมากๆ ต่อไปได้

ประโยชน์ของ 4GL

      เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ คำสั่งแต่ละคำสั่งสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ดังนั้น
           จึงสามารถใช้เวลาในการศึกษาสั้นกว่าภาษารุ่นที่ 3
      ประหยัดเวลาในการเขียนโปรแกรมได้มาก เนื่องจาก 1 คำสั่งของ 4GL ถ้าต้อง
            เขียนด้วยภาษารุ่นที่ 3 อาจต้องเขียนถึง 100 กว่าคำสั่งในการทำงานแบบเดียวกัน
      สนับสนุนระบบจัดการฐานข้อมูล ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
      สามารถสร้างแบบฟอร์มเพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล และออกรายงานได้
            อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก
      มีเครื่องมือการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมมากพอสมควร
      สามารถทำงานได้ในลักษณะ Interactive คือมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที



   ภาษาธรรมชาติ   

เป็นภาษาในยุคที่ 5 ที่มีรูปแบบเป็นแบบ Nonprocedural เช่นเดียวกับภาษารุ่นที่ 4 การที่เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ เพราะจะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ภาษามนุษย์โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปคำสั่งที่มนุษย์ป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์
จะอยู่ในรูปของภาษาพูดมนุษย์ ซึ่งอาจมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว แต่คอมพิวเตอร์ก็สามารถแปลคำสั่ง เหล่านั้นให้อยู่ใน
รูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ถ้าตั้งคำถามใดไม่กระจ่างก็จะมีการถามกลับเพื่อให้เข้าใจคำถามได้อย่างถูกต้อง

ภาษาธรรมชาตินี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งเป็นงานที่อยู่ใน
สาขาปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญ
คนหนึ่งที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์สามารถตอบคำถามของมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง
พร้อมทั้งมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของมนุษย์ได้อีกด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง
เช่น ในการแพทย์ ในการพยากรณ์อากาศ ในการวิเคราะห์ทางเคมี การลงทุน ฯลฯ ซึ่งในการนี้จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลและให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษาธรรมชาติในการดึงข้อมูลจากฐานความรู้นี้ได้ ดังนั้นเราจึงอาจเรียก
ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ได้อีกอย่างว่าเป็น

ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System)

อย่างไรก็ตามระบบผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถนำมาแทนที่การทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ได้ เนื่องจากทั้งระบบ
ผู้เชี่ยวชาญและมนุษย์จะต้องทำงานร่วมกัน โดยมนุษย์จะนำข้อมูลที่ได้จากระบบผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาร่วมกับวิจารญาณ
ของตนเองเพื่อตัดสินปัญหาที่ซับซ้อนอีกที อย่างไรก็ตามระบบผู้เชี่ยวชาญนี้เป็นคลื่นแห่งอนาคต ที่จะใช้เป็นเครื่องมือ
ช่วยตัดสินใจการทำงานของมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม

 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view