http://daowroong.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ชัยบาดาลบ้านเรา
ประวัติศาสตร์ลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี 2
แผนที่ลพบุรี
คำศัพท์ Com & Net
เว็บไซต์ส่วนราชการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาคอมพิวเตอร์
  SQL
  PHP
  ASP
  HTML
ท่องเที่ยวเมืองลพบุรี
มุมเพื่อสุขภาพ
เมนูอาหาร
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/01/2008
ปรับปรุง 22/04/2024
สถิติผู้เข้าชม692,958
Page Views843,918
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ท่องเที่ยวอำเภอบ้านหมี่

วัดเขาวงกต
ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสนามแจง ตำบลสนามแจง ห่างจากตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาสามด้าน บริเวณกว้างขวางถึง 30 ไร่ บนไหล่เขาด้านทิศตะวันตกมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดลงมามีศาลาเก็บศพหลวงพ่อเจริญ ดิสสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2506 แต่ศพไม่เน่าเปื่อย หน้าวัดมีเจดีย์สร้างอยู่บนเรือสำเภา อนุสรณ์ของหลวงพ่อเภาผู้สร้างวัดนี้

สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาเหนือพระอุโบสถ นับว่าเป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัว รายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22.00 น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงประมาณ 06.00 น. จึงจะหมด

วัดธรรมิการาม หรือวัดค้างคาว
ตั้งอยู่ริมลำน้ำบาง ฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดธรรมิการาม” เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งคลองในหมู่ไม้ร่มรื่น สามารถเข้าได้ 2 ทาง ทางรถเข้าได้จากบริเวณใกล้ทางเข้าวัดไลย์ (อำเภอท่าวุ้ง) ทางเท้าเข้าผ่านหมู่บ้านเดินข้ามสะพานไม้เข้าไป ซึ่งบรรยากาศดีมาก ในวัดมีวิหารเก่า มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน ศาลาการเปรียญและศาลาท่าน้ำมีลวดลายฉลุไม้ประดับและสิ่งที่น่าชมของวัดนี้คือ มีภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้ง 4 ด้าน ลักษณะของภาพเขียนมีลักษณะแบบตะวันตกเข้ามาปนบ้างแล้ว เช่นการแรเงาต้นไม้ และอื่นๆ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝีมือช่างพื้นบ้าน แต่งามกว่าที่วิหาร

วัดกัทลีพนาราม หรือวัดบ้านกล้วย
อยู่ห่างจากตลาดบ้านหมี่ ตามถนนสายบ้านหมี่โคกสำโรง ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่

เดิมชื่อว่า “วัดบ้านกล้วย” ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดกัทลีพนาราม” สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ มีพระอุโบสถขนาดใหญ่แบบจตุรมุขที่สวยงาม เป็นวัดสำคัญของชุมชนชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ นอกจากโบสถ์ทรงจตุรมุขซึ่งสร้างใหม่แล้ว ยังมีวิหารเก่าแก่หลังเล็กและเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง รูปทรงงดงามทั้งสองสิ่ง ศาลาการเปรียญมีลวดลายฉลุไม้ตกแต่งสวยงาม ภายในมีธรรมาสน์เก่าและประดับเครื่องแทนเป็นพุทธบูชาแบบของชาวไทยพวน คือ “ธงแว่น” หลายพวง

วัดเชียงงา
ตั้งอยู่เหนือตัวตลาดบ้านหมี่ขึ้นไปเล็กน้อย ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ วัดนี้คาดว่าคงจะสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ชาวพวนได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลนี้ สถานที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทางภาคเหนือของไทย คือ มีฐานย่อมุมซ้อนหลายชั้น องค์ระฆังเล็กสั้นแจ้ มีลวดลายรัดอกรอบองค์ระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ปลียอดรูปดอกบัวทรงผอมสูง บนยอดสุดปักฉัตรโลหะปิดทองฉลุลาย เจดีย์ทรงมอญทั่วไป ฐานจะแผ่กว้างทรงแจ้ แต่เจดีย์ที่วัดเชียงงานี้ทรงชะลูดสูง ดูแปลกตา

บ้านกล้วย (ทอผ้ามัดหมี่)
ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ ห่างจากตลาดบ้านหมี่เข้าไปตามถนนสายบ้านหมี่-โคกสำโรง ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นชุมชนชาวไทยพวน ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 135 ปีมาแล้ว

บ้านกล้วยเป็นหมู่บ้านธรรมดา แต่ตามครัวเรือนแต่ละหลังโดยเฉพาะหมู่ที่ 1 จะมีการทอผ้ามัดหมี่กันเป็นจำนวนมาก ผ้ามัดหมี่ของบ้านกล้วยทอด้วยฝ้ายและมีลวดลายละเอียดงดงามต่างกับมัดหมี่ของอิสานที่มัดหมี่ฝ้าย จะทำลวดลายใหญ่ๆ ห่างๆ นอกจากผ้ามัดหมี่แล้วยังมีการทอผ้าขาวม้าคุณภาพดี ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหมี่ คือ ลายไส้ปลาไหล นอกจากนั้นถัดไปที่หมู่บ้านชาวพวน ตำบลบางพึ่งยังมีการทอผ้าขิดอีกด้วย

ตัวอำเภอบ้านหมี่ (เจียระไนพลอย)
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลพบุรีไปประมาณ 28 กิโลเมตร คำว่า “หมี่” หมายถึงการมัดเส้นไหมเป็นเปลาะเพื่อย้อมสี ในเปลาะหนึ่งๆ ให้หลากสีกัน เพราะราษฎรในหมู่บ้านละแวกนั้นถนัดในการทอผ้าชนิดนี้ คือผ้ามัดหมี่ คนส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่เป็นไทยพวนที่อพยพมาจากหัวพันทั้งห้าทั้งหกในประเทศลาวเมื่อประมาณ 135 ปีมาแล้ว ได้นำเอาชื่อบ้านเดิมคือ “บ้านหมี่” มาใช้เป็นชื่อบ้านที่ตั้งหลักแหล่งใหม่นี้ด้วย

 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view