http://daowroong.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ชัยบาดาลบ้านเรา
ประวัติศาสตร์ลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี
ล.ลิงลพบุรี 2
แผนที่ลพบุรี
คำศัพท์ Com & Net
เว็บไซต์ส่วนราชการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาคอมพิวเตอร์
  SQL
  PHP
  ASP
  HTML
ท่องเที่ยวเมืองลพบุรี
มุมเพื่อสุขภาพ
เมนูอาหาร
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/01/2008
ปรับปรุง 22/04/2024
สถิติผู้เข้าชม692,969
Page Views843,931
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

การจัดการฐานข้อมูล

การจัดการฐานข้อมูล
ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
 
ฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน
การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งลดความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย
ตัวอย่าง : การจัดระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ฐานข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์ ฐานข้อมูลหนังสือ-วารสารในห้องสมุด ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลประชากร ฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมไทยและฐานข้อมูลงานวิจัย เป็นต้น
การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
ความสำคัญของระบบฐานข้อมูล
1) จัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Data Storage)
2) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Reduce Data Redundancy)
3) สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Data Concurrency)
4) ลดความขัดแย้งหรือแตกต่างกันของข้อมูล (Reduce Data Inconsistency)
5) ป้องกันการแก้ไขข้อมูลต่างๆ (Protect Data Editing)
6) ความถูกต้องของข้อมูลมีมากขึ้น (Data Accuracy)
7) สะดวกในการสืบค้นข้อมูล (Data Retrieval or Query
8) ป้องกันการสูญหายของข้อมูล หรือฐานข้อมูลถูกทำลาย (Data Security)
9) เกิดการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ (Apply Information System)
โครงสร้างข้อมูล (File Structure)
โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1) บิท (Bit : Binary Digit) บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
2) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 หรือ 8 บิท (1 บิท แทนด้วยตัวอักษร 7 หรือ 8 บิท) ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
3) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย
4) ระเบียน (Record) ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล
5) แฟ้มข้อมูล (File) แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน
6) ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียนประจำเทอม โปรแกรมวิชา และคณะ เป็นต้น
การออกแบบฐานข้อมูล
โดยทั่วไป การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรสามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ วิธีอุปนัย (Inductive approcah) และวิธีนิรนัย (Deductive approach)
1) วิธีอุปนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากล่างขึ้นบน (Bottom-up design) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กร มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัด คือ การนำกรรมวิธีย่อย ๆ จากการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก และต้องใช้เวลามากจึงจะสามารถออกแบบและสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ได้
2) วิธีนิรนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนิรนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากบนลงล่าง (Top-down design) เป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนการทำงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ภายในองค์กร และความต้องการใช้งานฐานข้อมูล จากการสังเกตการณ์ สอบถาม หรือสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ภายในหน่วยงาน เพื่อนำมาออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัดในการออกแบบ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูลต้องให้ความสำคัญและความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจะทำให้ได้ระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการออกแบบฐานข้อมูล 3 ฝ่าย คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล (Data Base Administrator : DBA) และผู้บริหารข้อมูล (Data Administrator : DA) นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysts) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) และผู้ใช้ (End-User) ดังนี้
1) ผู้บริหารฐานข้อมูลและผู้บริหารข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ควบคุม กำหนดนโยบาย มาตรการ และมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น กำหนดรายละเอียดและวิธีการจัดเก็บข้อมูล กำหนดควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดระบบสำรองข้อมูล และกำหนดระบบการกู้คืนข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
2) นักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจในระบบงานที่องค์กรต้องการ รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานโดยรวมของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกด้วย
นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น
3) ผู้ใช้ ผู้ใช้เป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของระบบฐานข้อมูล คือ ตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้นในการออกแบบระบบฐานข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลด้วย
คุณสมบัติของฐานข้อมูลที่ดี
1) เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจจะทราบ
2) สมบูรณ์ (Complete)
3) เป็นปัจจุบัน (Update)
4) ถูกต้อง (Accuracy)
5) ค้นหาได้สะดวก (Retrieve or Query)
การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานต่างๆ
1) การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานบุคลากร
เนื่องจากบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำเนินงานและปฏิบัติงานขององค์กร ในการเก็บบันทึกประวัติบุคลากรของหน่วยงานแต่ละแห่ง ประวัติของบุคคลหนึ่งคนจึงประกอบด้วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด สถานภาพสมรส ชื่อ-นามสกุลของสามีหรือภรรยา จำนวนบุตร ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการศึกษาในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับการศึกษาสูงสุด สถาบันที่จบการศึกษา เกรดเฉลี่ย และการทำกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา/ดูงาน เช่น เรื่อง วัน/เดือน/ปีและสถานที่เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา/ดูงาน เป็นต้น
- ผู้บริหารแต่ละระดับจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลทางด้านบุคลากรเพื่อการวางแผน การตัดสินใจ การจัดสายงาน การอำนวยการ และการควบคุมงานให้เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดสรรบุคลากรเพื่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ตามความรู้และความสามารถ การวางแผนอัตรากำลังในหน่วยงานขององค์กรเพื่อรองรับ การขยายงาน การพิจารณาเงินเดือน/เลื่อนขั้น/ความดีความชอบจากผลการปฏิบัติงานและวันหยุด/วันลา เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการจะใช้ฐานข้อมูลทางด้านบุคลากรในด้านการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารภายใน การควบคุมงาน และการติดตามงาน เช่น การคิดภาษีเพื่อหักจากเงินเดือน ณ ที่จ่ายจำเป็นต้องทราบอัตราเงินเดือน สถานภาพสมรส และจำนวนบุตร การแก้ไข/เปลี่ยนแปลงข้อมูลชื่อ-นามสกุล การบันทึกข้อมูล การเพิ่มวุฒิ/การฝึกอบรม การติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามงานระหว่างหน่วยงานในองค์กร เป็นต้น
- หน่วยงานอื่นๆในภาครัฐหรือเอกชน อาจใช้ฐานข้อมูลบุคลากร ในการดูแลเรื่องภาษีอากร การจ้างงาน สวัสดิการ รวมทั้งกฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวกับบุคคลและการดำเนินงานทางธุรกิจ เป็นต้น
2) การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานทะเบียนนักศึกษา
การเก็บบันทึกข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับ ใบลงทะเบียนของนักศึกษาในสถานศึกษาแต่ละแห่งประกอบด้วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา เช่น รหัสประจำตัว ชื่อ-นามสกุล โปรแกรมวิชาและคณะ เป็นต้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น รหัสอาจารย์ที่ปรึกษา และชื่ออาจารย์ เป็นต้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับชุดวิชาที่ลงทะเบียน เช่น ภาคการศึกษา ปีการศึกษา รหัสวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต และค่าลงทะเบียน เป็นต้น
นอกจากนี้ข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษายังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับเรื่องอื่น ๆ อีก เช่น จำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำที่นักศึกษาจะต้องลงทะเบียน จำนวนวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ห้องเรียน/ชั้นเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอน และอาจารย์ที่ทำการสอนในแต่ละวิชา เป็นต้น โดยนักศึกษา อาจารย์ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานทะเบียน สามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลงานทะเบียนนักศึกษามาใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น
- นักศึกษาใช้ฐานข้อมูลในงานทะเบียนนักศึกษาเพื่อทำการวางแผนและตัดสินใจในเรื่องการเรียน เช่น การลงทะเบียนเรียนในแต่ละเทอม ดูผลการเรียนและเกรดเฉลี่ย ดูตารางสอนและตารางสอบ เป็นต้น
- อาจารย์ใช้ฐานข้อมูลในงานทะเบียนนักศึกษาเพื่อวางแผนและการปฏิบัติงานในเรื่องการเรียนการสอน เช่น ดูรายชื่อนักศึกษา จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชา การคิดคะแนนและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
- ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนนักศึกษาอาจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าว ในการจัดทำตารางเรียน การจัดทำใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน การคืนเงินค่าลงทะเบียนเรียน การจัดสอบ และการจัดทำใบรายงานผลการศึกษา เป็นต้น
3) การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานซื้อขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า
การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานต่าง ๆ ได้แก่ การขายปลีก ระบบบัญชีเจ้าหนี้ และระบบบัญชีสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลกับการขายปลีก ทำให้องค์กรสามารถออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้สามารถจัดทำรายงานการขายประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ในงานซื้อขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า ระบบบัญชีเจ้าหนี้จะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา การบันทึกข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้าด้วยการใช้เทคนิคระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำให้สามารถพิมพ์รายงานเรียงตามลำดับวันที่ค้างชำระได้ ซึ่งรายงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการการเงินขององค์กรให้มีประสิทธิภาพได้ และยังสามารถพิมพ์เช็คชำระหนี้รวมทั้งบันทึกรายการชำระหนี้ได้ จึงทำให้สามารถจัดทำรายงานสรุปการจ่ายเงินในแต่ละวันได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ดังนั้น การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในงานซื้อขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าจึงช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรสามารถหาคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ได้ เช่น ความต้องการสินค้าของลูกค้าเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง สินค้าชนิดใดที่ได้รับความนิยมหรือเสื่อมความนิยม องค์กรเป็นหนี้การค้าหน่วยงานบริษัทใดบ้าง เป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด เป็นต้น จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า หากองค์กรมีการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารจะสามารถทำการวางแผนและตัดสินใจเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา
การสืบค้นสารสนเทศ
ในที่นี้จะกล่าวถึงฐานข้อมูลที่มีให้บริการในสำนักวิทยบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต การสืบค้นสารสนเทศที่เป็นบัตรรายการผ่านระบบเครือข่าย ทั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ
1. บริการสืบค้นบัตรรายการผ่านระบบเครือข่าย
บริการฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (VTLS : Virginia Technology Library System) ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต เป็นบริการสืบค้นบัตรรายการผ่านระบบเครือข่าย จากฐานข้อมูลหนังสือ และวารสารที่มีอยู่ในสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้บริการได้จากเว็บไซต์ www.arc.dusit.ac.th
การสืบค้นบัตรรายการจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งมีวิธีการสืบค้นบัตรรายการคล้ายๆ กับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จะต่างกันตรงหน้าจอรับและแสดงผลข้อมูล ถ้านักศึกษาทราบ URL (Universal Resource Locator) หรือชื่อเว็บไซต์ของห้องสมุดสถาบันการศึกษาที่ต้องการจะเข้าไปค้นหาข้อมูลหนังสือ นักศึกษาก็จะสามารถสืบค้นรายละเอียดของบัตรรายการได้เช่นกัน ห้องสมุดหลายๆแห่ง อาจมีหน้าจอเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งให้นักศึกษาสังเกตคำว่า "Catalog" เมื่อคลิกเข้าไปจะนำไปสู่หน้าจอของการสืบค้นบัตรรายการได้

 

ชื่อห้องสมุด URL
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.lib.ku.ac.th
สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://library.chula.ac.th
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://library.tu.ac.th
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.li.mahidol.ac.th
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://library.lib.ru.ac.th
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) http://www.nida.ac.th/lib.htm
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ http://library.kmitnb.ac.th
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ http://www.swu.ac.th/lib
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://cenlibk.bu.ac.th
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.lib.nu.ac.th

 

ฐานข้อมูลที่มีให้บริการในสำนักวิทยบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สำนักวิทยบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย เพื่อให้บริการสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ มีทั้งบรรณานุกรม บทคัดย่อ และบทความเต็มของวารสาร (Index, Abstract and Full text) ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล เช่น ABI/Inform, CABI Abstracts, Dissertation Abstract Online (DAO), Emerald Insight, Springer, Gale Online Databases, Gale's ASAP, Gale's Computer Database, H.W. Wilson Education เป็นต้น
สถาบันบริการสารสนเทศ
สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
จำแนกสถาบันบริการสารสนเทศตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ เป็น 9 ประเภท ได้แก่
1) ห้องสมุด (Library) เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุดที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชาและสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่หลักในการให้บริการ คือ บริการยืม- คืน บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และบริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาและเพื่อความบันเทิง เป็นต้น
ห้องสมุดแบ่งออกเป็น
ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งสื่อการศึกษาค้นคว้าและสื่อการเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียน
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Academic Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เช่นเดียวกับห้องสมุดโรงเรียน แต่การให้บริการจะกว้างขวางและมีระดับความรู้สูงมากขึ้น เช่น ให้บริการค้นคว้าและวิจัย ให้บริการวารสารเฉพาะวิชาต่างๆเพิ่มมากขึ้น
- ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (203.157.48.5/net/lib)
- ห้องสมุดของกรมควบคุมมลพิษ (library.pcd.go.th)
- ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร (secreta.doae.go.th/library)
- ห้องสมุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (www.tat.or.th/tat/library)
- ห้องสมุดดาราศาสตร์ (thaiastro.nectec.or.th/library/library.html)
- ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th/library)
- ห้องสมุดแถบเสียง สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (www.nectec.or.th/org/tab/service/services.htm)
- ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th/library/library_nesdb.html)
- ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (www.fda.moph.go.th/lib)
- ห้องสมุดรัฐสภาไทย (www.parliament.go.th/library)
ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อบริการประชาชนในชุมชนต่างๆ ทุกระดับความรู้ ทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพ ให้บริการส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้าตลอดชีวิต เป็นเสมือนวิทยาลัยในชุมชน ได้แก่
- ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร (www.geocities.com/wangsaiphun_library)
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (www.geocities.com/cmlibrary2003)
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์ (www.geocities.com/librarypetch)
หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมสะสมและรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติไว้ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ผลิตในประเทศ จะต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ทำการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number : ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number : ISSN)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2) ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center / Information Center) เป็นแหล่งจัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง เฉพาะสาขาวิชา เพื่อการค้นคว้าวิจัย และเพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์สารสนเทศนั้นๆ โดยตรง เช่น
- ศูนย์เอกสารการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (rdi.kku.ac.th/LIB/page_5.htm)
- ศูนย์เอกสารองค์กรอนามัยโลก (whodoc.moph.go.th)
- ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC) (www.tiac.or.th)
- ศูนย์เอกสารกลาง กรมสรรพากร (http://www.rd.go.th/publish/6134.0.html)
3) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คือ แหล่งรวบรวมข้อมูลและบริการข้อมูลตัวเลขสถิติต่างๆ งานวิจัยต่างๆ ได้แก่
- ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (www.tiac.or.th/tiacthai/industry.htm)
- ศูนย์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (www.nso.go.th/thai/indext.htm)
- ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (www.oie.go.th/industrystat_th.asp)
- ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th)
- ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของกระทรวงพลังงาน (www.energy.go.th)
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (conservation.forest.ku.ac.th/ecotourdb/cgi-bin/frame_main.asp)
- ศูนย์ข้อมูลมติชน (mic.matichon.co.th)
4) หน่วยงานสถิติ (Statistical Office) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บสถิติและเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานนั้นๆ เช่น ศูนย์สถิติการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์สถิติการพาณิชย์ ของกระทรวงพาณิชย์ และกองสถิติสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนั้นมีหน่วยงานสถิติของสถาบันต่างๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันประชากรศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
5) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ทำหน้าที่รวบรวมและให้บริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยการนำมาทำการวิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล เพื่อใช้ในการให้บริการตอบคำถามและจัดส่งให้ผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย และในรูปของสิ่งพิมพ์
6) ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information Clearing House) ทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บและผลิตทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่อต่างๆ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ติดต่อขอทรัพยากรสารสนเทศในสาขาที่เกี่ยวข้องจากผู้ผลิต เพื่อรวบรวมให้เป็นระบบ สะดวกในการค้นคว้า และการแนะนำแหล่งข้อมูล เช่น การทำบัตรรายการ จัดทำบรรณานุกรม ดัชนี สาระสังเขป และจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (The Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (The British Library) หอสมุดแห่งชาติของไทย ห้องสมุดยูเนสโก และมูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation) เป็นต้น
7) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลหรือสถาบันสารสนเทศอย่างกว้างขวางในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบ สามารถแนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการได้ นอกจากนั้นยังจัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ แจ้งข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ตลอดจนรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ จัดทำเป็นบรรณานิทัศน์ ดัชนีวารสาร และสาระสังเขป เป็นต้น
8) หอจดหมายเหตุ (Archive) ทำหน้าที่จัดเก็บเอกสารทางราชการและเอกสารทางประวัติศาสตร์ของรัฐบาล เช่น ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึกรายงาน แบบพิมพ์ แผนที่ แผนผัง และภาพถ่าย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
9) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center) อาจจะเป็นห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่จัดให้มีบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่นการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต โดยเก็บค่าสมาชิกหรือเก็บตามราคาที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นอาจจะเก็บค่าบริการเป็นค่าสมาชิกสำหรับการจัดส่งเอกสารหรือข่าวสารด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การสรุปข่าวหรือจดหมายข่าว เป็นต้น
นอกจากนั้นมีบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ ตัวแทนขายสารสนเทศและองค์กรที่ทำธุรกิจอุตสาหกรรมสารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่าและเผยแพร่สารสนเทศและให้บริการตามความต้องการ เช่น การส่งเอกสาร การค้นสารสนเทศ บริการเขียนโครงร่างงานวิจัย เขียนรายงาน ทำวิจัย วิเคราะห์ตลาด งานแปล จัดทำโฆษณาและงานบรรณาธิการ เป็นต้น
9) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center) อาจจะเป็นห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่จัดให้มีบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่นการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต โดยเก็บค่าสมาชิกหรือเก็บตามราคาที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นอาจจะเก็บค่าบริการเป็นค่าสมาชิกสำหรับการจัดส่งเอกสารหรือข่าวสารด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การสรุปข่าวหรือจดหมายข่าว เป็นต้น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทต่างๆ ได้จัดตั้งเป็นสถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ ได้แก่
- ศูนย์ข้อมูลมติชน ให้บริการสืบค้นข้อมูลจากแฟ้มข่าวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศไทย พร้อมข่าวสารจากนิตยสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ มีบริการตัดเก็บข่าวจากหนังสือและวารสาร จัดส่งข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และบริการห้องสมุดภาพ เป็นต้น
- บริษัทยูไนเต็ด บรอดแบนด์เทคโนโลยี จำกัด (ยูบีที) ให้บริการข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
- บริษัท โอซีแอลซี (OCLC) ให้บริการค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
หน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศ
1) รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมีประโยชน์กับสาขาวิชาที่สถาบันบริการสารสนเทศนั้น ๆ
2) จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดเก็บและการให้บริการ
3) ผลิตทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อบริการ จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยนกับสถาบันสารสนเทศอื่นๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์
4) จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการค้นคว้าสารสนเทศ
5) จัดสถานที่อ่านให้เหมาะสมเป็นสัดส่วน ปรับอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะกับการศึกษาค้นคว้าวิจัย
6) จัดให้มีศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศ โดยการรวบรวมรายชื่อแหล่งสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารสนเทศอื่นๆได้อีก
7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ
8) จัดบริการพิเศษต่างๆ ให้กับผู้ใช้ เช่น การจัดทำข่าวสารทันสมัย การหมุนเวียนวารสารบริการหนังสือสำรอง (Reserved Book) บริการแปล (Translation Service) บริการถ่ายเอกสาร บริการทำบรรณนิทัศน์ (Book Annotation Service) และบริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter-library Loan Service) เป็นต้น
9) จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

 
 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view